ครั้งที่ 10
1.
Web Service
Web Service คือ ระบบหรือโปรแกรมที่ออกแบบมา เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกันผ่านทางระบบเครือข่ายโดยใช้ภาษาXMLเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสาร และใช้ WSDL เป็น Interface ที่คอยจัดการอธิบายรูปแบบของข้อมูลเพื่อให้เครื่องสามารถประมวลผลได้ โดยมี SOAP (Simple Object
Access Protocol) ที่มี XML เป็นพื้นฐานและใช้ HTML เป็นโปรโตคอลร่วมสำหรับการสื่อสารWeb Service มักจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ในแง่ของการเขียนโปรแกรม เพื่อให้เว็บสองเว็บสามารถสื่อสารกันได้ เช่น เขียนโปรแกรมให้เว็บหนึ่ง ส่งข้อมูลไปจัดเก็บยังอีกเว็บหนึ่ง หรือเรียกใช้งานข้ามเว็บไซต์ ซึ่งจะเป็นลักษณะของการส่ง XML ไปแล้วรอให้อีกฝั่งตอบ XML กลับมา โดยไม่สนใจว่าภาษาที่ใช้เขียนเว็บไซต์จะต่างกันหรือไม่ นอกจากนี้หลายองค์กรยังหันมาพัฒนาระบบของตนให้รองรับการทำงานร่วมกับ Web Service เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการข้อมูลขององค์กร
2.
Shareware
Shareware คือโปรแกรมประเภททดลองใช้งาน ปกติแล้วจะหมายถึงโปรแกรมรุ่นทดลองใช้ ซึ่งจะมีคุณสมบัติเหมือนกับเวอร์ชั่นเต็มทุกประการ แต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่คุณสมบัติบางอย่างอาจถูกตัดออกไป หรือบางโปรแกรมจะเป็นลักษณะของการจำกัดเวลาหรือจำนวนครั้งในการใช้งาน แต่ไม่จำกัดคุณสมบัติ เช่น ใช้ได้ 30 ครั้ง หรือ 30 วัน เป็นต้น ซึ่งแตกต่างจาก Freeware ที่เป็นโปรแกรมแจกจ่ายให้ใช้ฟรีอย่างไม่มีข้อจำกัด หากต้องการใช้โปรแกรมแบบไม่มีข้อจำกัด ผู้ใช้ก็ต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อโปรแกรมเวอร์ชั่นสมบูรณ์จากผู้พัฒนา
3.
Video RAM
Video RAM ย่อมาจากคำว่า Video Random Access
Memory เป็นหน่วยความจำที่ใช้สำหรับการทำงานเกี่ยวกับ Video โดยเฉพาะถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับ Display Card หรือการ์ดจอ ซึ่งจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลภาพได้เร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น Video RAM มีพื้นฐานการพัฒนามาจาก DRAM แต่มีความแตกต่างที่กลไกการทำงานบางอย่าง เช่น serial port ที่เพิ่มเข้ามาเป็นพิเศษอีก 1หรือ 2 port จึงทำให้มองเห็นว่าเป็น RAM แบบ Dual-Port หรือ Parallel Portการทำงานของแรมประเภทนี้ในระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไปมักจะเป็นลักษณะของการแบ่งหน่วยความจำเครื่องมาเป็น Video RAM หรือที่เรียกกันว่าShared Video Memory ซึ่งจะใช้ประมาณ 125 – 256 MB จึงมักจะเกิดปัญหาเครื่องไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และไม่รองรับโปรแกรมที่ต้องใช้ Video RAM เป็นจำนวนมาก
4.
XHTML
XHTML ย่อมาจาก eXtensible Hyper Text
Markup Language คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ประเภท MarkupLanguage หรือภาษาที่ใช้สำหรับเขียนเว็บไซต์ที่เกิดจากการรวมตัวของ
ภาษา HTML และ XML เข้าไว้ด้วยกันจนเกิดเป็นภาษา eXtensible Hyper Text
Markup Language : XHTML ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ในการสร้างเว็บไซต์ด้วยภาษา HTML ประโยชน์หลัก ๆ ก็คือการสร้างเว็บไซต์เพื่อส่งข้อมูลทั่ว ๆ ไปและเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างแท็กใหม่ๆที่เราสามารถกำหนดคุณสมบัติและลูกเล่นได้เองว่าจะให้แสดงผลอย่างไร ซึ่งภาษา HTMLแบบเดิมไม่สามารถทำได้นอกจากนี้ XHTML ยังสามารถรองรับภาษาอื่นๆ ที่ใช้ XML เป็นฐาน เช่น SVG, MathML, SMIL,
chemML และยังคงใช้โครงสร้างภาษา HTML เพียงแต่เพิ่มความเข้มงวดในเรื่องของโครงสร้าง เช่น มีการตัด tag และ attribute ที่ไม่ทันสมัยออกไป เพื่อให้ขนาดข้อมูลเล็กลงซึ่งจะทำให้แสดงผลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
5.
Source Code
Source Code คือรหัสคำสั่งหรือโค้ดโปรแกรม ซึ่งถูกเขียนขึ้นโดยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี (C) ภาษาจาวา (Java) ภาษาพีเอชพี (PHP)ภาษาปาสคาล (Pascal) และอื่นๆ อีกมากมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโปรแกรมสำหรับควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์หรือใช้งานทั่วไป ตลอดจนงานเฉพาะด้าน
Source Code คือรหัสคำสั่งหรือโค้ดโปรแกรม ซึ่งถูกเขียนขึ้นโดยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี (C) ภาษาจาวา (Java) ภาษาพีเอชพี (PHP)ภาษาปาสคาล (Pascal) และอื่นๆ อีกมากมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโปรแกรมสำหรับควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์หรือใช้งานทั่วไป ตลอดจนงานเฉพาะด้าน
Source
Code ในปัจจุบันเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงที่มนุษย์สามารถอ่านและเข้าใจได้ รูปแบบคำสั่งมักจะเป็นวลีหรือไวยากรณ์อย่างง่าย เช่น get, go, read, write,
print เป็นต้น ซึ่งนักพัฒนาโปรแกรมจะเป็นผู้เขียนชุดคำสั่งขึ้นมา ก่อนที่จะแปลงไปเป็นภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้และสามารถทำตามคำสั่งเหล่านี้ได้ด้วยการใช้ Compiler ช่วยแปล Source Code ทั้งโปรแกรมให้เป็น Object Code ส่วนโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้นเรียกว่า Source Program และโปรแกรมที่แปลแล้วจะถูกเรียกว่า Object Program
6.
SDH
SDH ย่อมาจากคำว่า Synchronous Digital Hierarchy คือเครือข่ายความเร็วสูง เป็นการวางลำดับการสื่อสารแบบซิงโครนัสในตัวกลางความเร็วสูงโดยใช้สายใยแก้วเป็นตัวนำสัญญาณ SDH พัฒนามาจากการจัดการโครงข่ายสายโทรศัพท์ มีการเปลี่ยนสัญญาณโทรศัพท์เป็นดิจิตอลที่มีช่องสัญญาณแถบกว้าง 64 กิโลบิตต่อหนึ่งช่องสัญญาณ การสื่อสารภายใน เป็นแบบซิงโครนัส ที่มีการส่งเป็นเฟรม และมีการซิงค์บอกตำแหน่งเริ่มต้นเฟรม เพื่อให้อุปกรณ์รับสามารถตรวจสอบสัญญาณข้อมูลได้ถูกต้อง มีการรวมเฟรมเป็นช่องสัญญาณที่แถบกว้างความเร็วสูงขึ้น และมีการจัดลำดับเพื่อใช้ช่องสื่อสารบนเส้นใยแก้ว
SDH ย่อมาจากคำว่า Synchronous Digital Hierarchy คือเครือข่ายความเร็วสูง เป็นการวางลำดับการสื่อสารแบบซิงโครนัสในตัวกลางความเร็วสูงโดยใช้สายใยแก้วเป็นตัวนำสัญญาณ SDH พัฒนามาจากการจัดการโครงข่ายสายโทรศัพท์ มีการเปลี่ยนสัญญาณโทรศัพท์เป็นดิจิตอลที่มีช่องสัญญาณแถบกว้าง 64 กิโลบิตต่อหนึ่งช่องสัญญาณ การสื่อสารภายใน เป็นแบบซิงโครนัส ที่มีการส่งเป็นเฟรม และมีการซิงค์บอกตำแหน่งเริ่มต้นเฟรม เพื่อให้อุปกรณ์รับสามารถตรวจสอบสัญญาณข้อมูลได้ถูกต้อง มีการรวมเฟรมเป็นช่องสัญญาณที่แถบกว้างความเร็วสูงขึ้น และมีการจัดลำดับเพื่อใช้ช่องสื่อสารบนเส้นใยแก้ว
7.
CAE
CAE ย่อมาจาก Computer Aided Engineering หรือที่เรียกกันว่า การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิศวกรรม เกิดจากการนำเทคโนโลยี CAD (Computer Aided Design) มาทำงานร่วมกับ CAM (Computer Aided Manufacturing) ซึ่งนิยมใช้ในการควบคุมเครื่องจักรอุตสาหกรรมจึงกลายเป็นเทคโนโลยีที่สามารถบอกได้ว่าสิ่งของที่ออกแบบมานั้นสามารถทำงานได้อย่างที่อยากให้เป็นหรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้จากตัวบ่งชี้ 2 อย่าง
CAE ย่อมาจาก Computer Aided Engineering หรือที่เรียกกันว่า การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิศวกรรม เกิดจากการนำเทคโนโลยี CAD (Computer Aided Design) มาทำงานร่วมกับ CAM (Computer Aided Manufacturing) ซึ่งนิยมใช้ในการควบคุมเครื่องจักรอุตสาหกรรมจึงกลายเป็นเทคโนโลยีที่สามารถบอกได้ว่าสิ่งของที่ออกแบบมานั้นสามารถทำงานได้อย่างที่อยากให้เป็นหรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้จากตัวบ่งชี้ 2 อย่าง
1. ผลลัพธ์จากการทดสอบจริง คือ การนำต้นแบบมาทดสอบจริง เช่น การทดสอบการชนของรถ
2. ผลลัพธ์จากการคำนวณด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งสามารถหาผลลัพธ์จากสถานการณ์สมมติ ซึ่งการคำนวณด้วยซอฟต์แวร์ประเภท CAE นั้นจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ในเวลาที่รวดเร็วและแม่นยำขึ้น
2. ผลลัพธ์จากการคำนวณด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งสามารถหาผลลัพธ์จากสถานการณ์สมมติ ซึ่งการคำนวณด้วยซอฟต์แวร์ประเภท CAE นั้นจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ในเวลาที่รวดเร็วและแม่นยำขึ้น
ดังนั้นการนำ CAE จึงเป็นที่นิยมกันในกลุ่มวิศวกร เพราะพวกเขาสามารถคำนวณได้ว่างานที่ออกแบบมานั้นได้มาตรฐานหรือไม่ และสามารถทดสอบในสถานการณ์จำลองต่าง ๆ ได้ เช่น การเกิดพายุ แผ่นดินไหว อุทกภัย เป็นต้น เพื่อหาวิธีป้องกันแก้ไขต่อไป
8.
32-bit Color
32-bit
Color คือ การแสดงสีของภาพในรูปแบบ True Color ที่ระดับความละเอียดและความคมชัดแบบ 32 bit ซึ่งมีความละเอียด คมชัด และสมจริงมากกว่าการแสดงผลแบบเดิม คือแบบ 16 bit และแบบ 8 bit
ความละเอียดในการแสดงสีของภาพที่นิยมใช้กันจะมีอยู่ 2 แบบคือ
1. High Color จะเป็นการแสดงความละเอียดสีแบบ 15 bit, 16 bit และ 18 bit เป็นต้น ถือว่าเป็นการแสดงภาพที่มีสีสันสดใสชัดเจนในระดับหนึ่งโดยที่จอภาพที่สามารถแสดงสีแบบ 16 bit หมายถึงสามารถแสดงสีได้ทั้งหมด 65,536 สีนั่นเอง ข้อดีของการแสดงสีแบบ High Color นี้คือ คอมพิวเตอร์หรือการ์ดจอจะไม่ต้องทำงานหนักเกินไปในการประมวลผลภาพ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่หน่วงมากนัก
1. High Color จะเป็นการแสดงความละเอียดสีแบบ 15 bit, 16 bit และ 18 bit เป็นต้น ถือว่าเป็นการแสดงภาพที่มีสีสันสดใสชัดเจนในระดับหนึ่งโดยที่จอภาพที่สามารถแสดงสีแบบ 16 bit หมายถึงสามารถแสดงสีได้ทั้งหมด 65,536 สีนั่นเอง ข้อดีของการแสดงสีแบบ High Color นี้คือ คอมพิวเตอร์หรือการ์ดจอจะไม่ต้องทำงานหนักเกินไปในการประมวลผลภาพ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่หน่วงมากนัก
2.
True Color จะเป็นการแสดงสีที่ความละเอียดสูงมาก ให้ภาพที่สมจริงมากกว่าแบบ High Color การแสดงภาพความละเอียดสีสูงแบบ True Color ที่นิยมใช้กันคือแบบ 24-bit และ 32-bit ซึ่งแบบ 24-bit จะให้ความละเอียดสีถึง 16.7 ล้านสี จึงมีความสมจริงมาก ส่วนแบบ 32-bit color นั้นจะให้ความละเอียดสี 16.7 ล้านสีเท่ากัน แต่มีการเพิ่ม Alpha channel เข้ามา ทำให้สีสันสดใสยิ่งขึ้น
9.
Defragment
Defragment คือ การจัดเรียงข้อมูลใน Hardisk ใหม่ โดยทำให้ไฟล์แต่ละไฟล์มีการจัดเรียงหรือจัดวางข้อมูลแบบต่อเนื่องกัน อันเนื่องมาจากเวลาเขียนหรือบันทึกข้อมูลนั้น คอมพิวเตอร์จะเขียนข้อมูลลงในฮาร์ดดิสก์แบบสุ่มเพื่อความรวดเร็วในการทำงาน
การเขียนข้อมูลลงในฮาร์ดดิสก์แบบสุ่มนั้นช่วยให้การบันทึกข้อมูลรวดเร็วขึ้นก็จริง แต่เมื่อมีการเก็บข้อมูลไว้เป็นจำนวนมากๆ การบันทึกครั้งต่อๆไป การเรียกใช้ข้อมูล หรือแม้กระทั่งการบูต (Boot) เครื่องจะช้าลงมาก เครื่องจะทำงานอืดอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากในการเรียกใช้งานไฟล์ต่างๆนั้นจะต้องไปเรียกข้อมูลที่บันทึกแบบสุ่มเอาไว้ที่จุดต่างเหล่านั้นจนครบไฟล์ ถึงจะเปิดไฟล์ออกมาใช้งานได้
ดังนั้นเมื่อเราทำ Defragment หรือ ทำ Defrag ระบบปฏิบัติการของเราจะทำการย้ายข้อมูลของแต่ละไฟล์ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่ว Harddisk ให้มาจัดวางอยู่ติดกันหรือเรียงกัน ซึ่งเมื่อมีการเรียกใช้ไฟล์นั้นครั้งต่อไป จะสามารถทำได้รวดเร็วขึ้นอย่างมาก
การทำ Defragment นั้น ครั้งแรกจะใช้เวลาค่อนข้างนาน ถ้าอาร์ดดิสก์ของเรามีขนาดใหญ่มาก ก็อาจจะใช้เวลาเป็นชั่วโมง แต่ถ้าเราทำบ่อยๆ เช่น ทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน การทำ Defrag แต่ละครั้งก็จะใช้เวลาไม่นาน
10.
Hibernate
Hibernate คือ การปรับโหมดของคอมพิวเตอร์เข้าสู่โหมดจำศีล เป็นรูปแบบการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง ซึ่งภายหลังการเข้าโหมด Hibernateแล้ว คอมพิวเตอร์จะปิดระบบการใช้งานต่างๆ แต่จะเก็บค่าต่างๆที่กำลังทำงานในขณะนั้นเอาไว้ เมื่อเราเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ ค่าต่างๆเหล่านั้นจะพร้อมใช้งานทันที
ในโหมด Hibernate นั้นข้อมูลการใช้งานล่าสุด (ซึ่งอยู่ใน RAM) จะถูก COPY ไปเก็บเอาไว้ใน Harddisk (เพราะเมื่อปิดเครื่อง ข้อมูลในRAM ทั้งหมดจะหายไป) เมื่อเราเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ข้อมูลเหล่านั้นจะถูก COPY จาก Harddisk กลับมาที่ RAM และพร้อมใช้งานทันทีโดยไม่ต้องเรียกเปิดโปรแกรมเหล่านั้นใหม่อีกครั้ง ทำให้เราสามารถทำงานต่อได้ทันที ช่วยประหยัดเวลาได้มาก
อีกประโยชน์หนึ่งของการเข้าโหมด Hibernate คือ กรณีเราทำงานค้างอยู่และไม่อยากปิดโปรแกรมใดๆ เราสามารถเข้าสู่โหมด Hibernate ได้เลย เมื่อเปิดเครื่องใหม่ หน้าจอเดิมนั้นจะถูกเปิดออกมาและพร้อมใช้งานต่อทันทีนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น